หลักการครองเรือน

Posted on 08:15

  • ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัวไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้
  • ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสี ด้วยความอิจฉาริษยาจากบุคคลภายนอก มาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
  • พึงให้แก่คนที่ให้ หมายถึง เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่นที่นำมาคืนเท่านั้น
  • พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึง ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก ไม่ควรให้
  • พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึง การสงเคราะห์ญาติ แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร ก็ควรให้
  • พึงนั่งให้เป็นสุข หมายถึง การนั่งในที่อันเหมาะอันควร ไม่เกะกะขวางทาง ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อผัวแม่ผัวเดินผ่าน และจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  • พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึง ควรนอนทีหลังพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้เข้านอนแล้ว คือต้องตรวจดูข้าวของ กลอนประตูหน้าต่าง และฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย
  • พึงกินให้เป็นสุข หมายถึง ควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อผัวแม่ผัวสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย
  • พึงบูชาไฟ หมายถึง การให้ความเคารพยำเกรงสามี และบิดามารดาของสามี
  • พึงบูชาเทวดา หมายถึง ให้นับถือบิดามารดาสามี 


               พิธีส่งตัวมักทำกัน ในเวลากลางคืน   ถ้ามีการกินเลี้ยงฉลองสมรส ในตอนเย็นหรือค่ำ งานจะต้องเลิกก่อน ถึงฤกษ์ส่งตัวเล็กน้อย เพื่อคู่บ่าวสาวจะได้มีเวลาเตรียมตัวพ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาวจะเชิญผู้มีเกียรติ ซึ่งเป็น  คู่สามีภรรยาอาวุโส ให้ทำพิธีปูที่นอนในห้องหอหรือเรือนหอ ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องเป็นคู่สามีภรรยา ที่แต่งงาน อยู่กินกันมาจนแก่เฒ่า มีฐานะดีและมีลูกหลานที่เลี้ยงง่ายและลูก ๆ ยังมีชีวิตอยู่กันทุกคน
               
              การทำพิธีปูที่นอน ในปัจจุบันอาจทำพอเป็นพิธีเพราะโดยมากก่อนวันแต่งได้มีการจัดเตรียมไว้เป็นที่เรียบร้อย แล้ว ครั้นพอได้ฤกษ์ ผู้ทำพิธีก็จัดแจงปูที่นอน จัดหมอนผ้าห่มกางมุ้ง พอถึงฤกษ์เรียงหมอน ผู้ทำพิธีฝ่ายชายนอน ทางขวา ฝ่ายหญิงนอนทางซ้าย เป็นการนอนเอาเคล็ด
              
                สิ่งของอันเป็นมงคลที่ใช้ในพิธีปูที่นอน มีอยู่หลายตำรา เช่น ใช้หินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้สีขาวซึ่งทาแป้ง และของหอมไว้ทั้งตัว รวมทั้งถั่วทอง งาเมล็ด ข้าวเปลือก อย่างละหยิบมือห่อผ้าไว้ในพาน ผู้ทำพิธีปูที่นอน จะหยิบของเหล่านี้วางบนที่นอน พร้อมกับแมว และกล่าวถ้อยคำอันเป็นมลคล แล้วนอนลงพอเป็นพิธีแล้วจึงลุกขึ้น สิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีน่าจะมาจากคติคำอวยพรที่ว่า ขอให้เย็นเหมือนฟัก หนักเหมือนแฟง ให้อยู่เรือนเหมือน ก้อนเสา ให้เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว



        พิธีรดน้ำหรือ หลั่งน้ำสังข์ นี้ จะกระทำหลังจากคู่บ่าวสาวร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระสวดพุทธมนต์ และถวายจตุปัจจัยไทยธรรมเมื่อพระฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
           
           เมื่อถึงฤกษ์รดน้ำสังข์ พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน จะทำการเจิมให้แก่ คู่บ่าวสาว ฝ่ายชายนั้นพระสามารถเจิม ที่หน้าผาก เป็นจุดแต้ม ๓ จุดได้โดยตรง แต่สำหรับฝ่ายหญิง พระท่านอาจจับมือฝ่ายชายจุ่มแป้งเจิม แล้วจับไปเจิม หน้าผากให้เจ้าสาวของตน เพราะท่านไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงได้
        
           เมื่อคู่บ่าวสาวสวมมงคลฝาแฝด และนั่งพนมมือคู่กัน ในที่จัดไว้แล้ว จะมีคนคอยตักน้ำพระพุทธมนต์ เติมในสังข์เพื่อส่งให้กับ ผู้ที่จะรดน้ำอวยพร โดยเริ่มจาก พ่อแม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ ไปตามลำดับ นิยม รดใส่มือให้กับเจ้าสาวก่อน แล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว ขณะหลั่งน้ำสังข์ ก็กล่าวอวยชัยให้พร ให้คู่บ่าวสาว ประสบความสุข ความเจริญ อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่าถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกเต็มบ้าน มีหลานเต็มเมือง


           มีเคล็ดลาง เกี่ยวกับ พิธีรดน้ำ อันหนึ่ง คือเมื่อเสร็จพิธีรดน้ำแล้ว หากฝ่ายใดลุกขึ้นยืนขึ้นก่อนจะเป็นผู้ที่อยู่เหนือ คู่ครองของตน เช่น หากชายลุกขึ้นก่อนภรรยาจะกลัว หรือถ้าฝ่ายหญิงลุกขึ้นยืนก่อนสามีจะเกรงกลัว อยู่ในโอวาท อะไรทำนองนี้ หากยึดถือมากเกินไป เวลารดน้ำเสร็จต่างก็รีบผลุนผลัน ลุกขึ้นคงไม่ดีแน่ แต่ควรช่วยกัน ประคับประคองลุกขึ้นพร้อมกัน จะเกิดภาพที่น่าประทับใจมากกว่า



พิธียกขันหมาก

Posted on 07:49
              ในวันแต่งงาน  ตอนเช้าที่บ้านเจ้าสาวจะทำบุญเลี้ยงพระ  เมื่อถึงเวลาจวน ๑๑ นาฬิกา  ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดสำรับคาวหวาน ๔ สำรับ เรียกว่า ของเลื่อนหรือ ของเลื่อนเตือนขันหมากโดยให้ผู้มีหน้ามีตาเป็นผู้นำไปยังบ้านเจ้าบ่าว เมื่อผู้นำของเลื่อนไปถึงบ้านเจ้าบ่าว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะรับไว้แล้วคืนภาชนะพร้อมทั้งจัดของชำร่วยให้แก่ผู้นำของเลื่อน ของเลื่อนเตือนขันหมากจึงเป็นการบอกกล่าวแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวว่า ฝ่ายเจ้าสาวเสร็จธุระเรื่องเลี้ยงพระแล้วให้เคลื่อนกระบวนนำขันหมากไปได้
              หลังจากนั้น ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเคลื่อนกระบวนขันหมากไปยังบ้านเจ้าสาวตามฤกษ์ที่กำหนดไว้  ขันหมากจะแบ่งเป็นขันหมากเอก  ขันหมากโทหรือขันหมากเลว (ธรรมดา)  พร้อมทั้งเงินสินสอดและผ้าไหว้ “หรือ ของเลื่อนเตือนขันหมากโดยให้ผู้มีหน้ามีตาเป็นผู้นำไปยังบ้านเจ้าบ่าว เมื่อผู้นำของเลื่อนไปถึงบ้านเจ้าบ่าว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะรับไว้แล้วคืนภาชนะพร้อมทั้งจัดของชำร่วยให้แก่ผู้นำของเลื่อน ของเลื่อนเตือนขันหมากจึงเป็นการบอกกล่าวแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวว่า ฝ่ายเจ้าสาวเสร็จธุระเรื่องเลี้ยงพระแล้วให้เคลื่อนกระบวนนำขันหมากไปได้
              เมื่อกระบวนขันหมากมาถึงประตูบ้านเจ้าสาวแล้วจะมีคนในบ้านเจ้าสาวถือแพรสี สายสร้อยทองคำ หรือเข็มขัดทองคำกั้นขวางทางไว้ ๓ ชั้น เรียกกันว่า ประตูขันหมากชั้นที่ ๑ คือ ประตูบ้าน เรียกว่า ประตูชัยชั้นที่ ๒ คือ ประตูบันไดนอกชานเรือน เรียกว่า ประตูเงินและชั้นที่ ๓ คือ ประตูเรือนหอ เรียกว่า ประตูทอง”  โดยก่อนที่จะผ่านแต่ละประตู เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องให้เงิน ค่าเปิดประตูขันหมากเรื่องเลี้ยงพระแล้วให้เคลื่อนกระบวนนำขันหมากไปได้




ขันหมากเอก

                  จะจัดเป็นขันเดี่ยวหรือขันคู่ก็แล้วแต่ประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น  ส่วนใหญ่มีขันใส่หมากพลขันใส่เงินทองหรือสินสอดขันใส่สิ่งของอันเป็นมงคล เช่น  ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงินใบทอง ฯลฯ  ขันหมากเอก นี้นิยมจัดเป็นคู่

ขันหมากโท
                     พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ  เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่นกัน มีการนำกระดาษสีแดง ประดับตกแต่งให้สวยงาม




นิยมแต่งในเดือน ๒ เดือน ๔ หรือเดือน ๖ เพราะถือเป็นเดือนคู่ ซึ่งคำว่าคู่หรือสิ่งที่เป็นคู่นี้ มีความหมาย และความสำคัญมาก  ในการทำพิธีแต่งงานเนื่องจากเป็นพิธีที่หญิงและชาย  จะเริ่มใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน  บางทีก็มีการแต่งงาน ในเดือน ๙ ถือเคล็ด  ถึงความก้าวหน้า เพราะคำว่า เก้ากับ ก้าวออกเสียงใกล้เคียงกัน
เดือนที่นิยมแต่งงานกันมากที่สุด คือเดือน ๖ เพราะเริ่มเข้าฤดูหน้าฝน อาจเพราะบรรยากาศช่วยเป็นใจ เรียวกว่า โรแมนติก กว่าแต่งในหน้าอื่นและเป็นต้นฤดูทำการเพาะปลูกของคนไทยซึ่งหนุ่มสาวจะได้เริ่มชีวิตใหม่ สร้างฐานะครอบครัวร่วมกัน
 เดือนที่ไม่นิยมแต่งงาน  คือเดือน ๑๒ เพราะถือว่าเป็นช่วงที่สุนัขมันติดสัด  แม้จะเป็นเดือนที่เป็นเลขคู่ก็ไม่นิยม   คงเพราะในสมัยก่อนช่วงนี้  น้ำป่าไหลท่วมบ้านเรือนหรือข้าวปลาอาหารไม่สมบูรณ์  





การปลูกเรือนหอ

Posted on 06:34



     ในสมัยโบราณนั้นการปลูกเรือนหออาจทำในที่ดินของฝ่ายหญิงหรือที่ดินของฝ่ายชายก็ได้ แต่ค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างฝ่ายชายเป็นผู้ออกทั้งหมด  หรือร่วมกับฝ่ายหญิงเรื่องนี้แล้วแต่ตกลง บางทีพ่อแม่ของฝ่ายใด  ฝ่ายหนึ่ง มีบ้านหลายหลังในบริเวณเดียวกัน  ก็ยกให้เป็นเรือนหอเสียหลังหนึ่งแต่ส่วนใหญ่เมื่อแต่งงานแล้ว  ฝ่ายชายมักจะย้ายไปอยู่หรือไปปลูกบ้านอยู่กับฝ่ายหญิงมากกว่า



         สำหรับในสมัยปัจจุบัน หากมีทุนรอนอยู่บ้าง  การหาเรือนหอคงไม่ใช่เรื่องยากลำบากอะไรนัก   อาจใช้วิธีจ้างปลูก หรือหาซื้อผ่อนไว้สักหลังหนึ่งเพราะมีบ้านจัดสรรให้เลือกหลายโครงการแต่งงานแล้ว สองคนสามีภรรยาช่วยกันผ่อนไปชั่วระยะหนึ่งก็จะได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ฝ่ายชายมักจะย้ายไปอยู่หรือไปปลูกบ้านอยู่กับฝ่ายหญิงมากกว่า




ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.